วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เที่ยวเมืองมะริด ทวาย ตะนาวศรี ประเทศพม่า แบบมืออาชีพ ต้องที่นี่ We are Land operator sunitjo travel booking tour 098-0641749


We are Land operator sunitjo travel booking tour 098-0641749
We are the first leading specialized inbound land operator in Southern Myanmar. We have been operating in Southern Myanmar since it was first open up for foreigners in 2013. We are the ground handling agent for many travel agencies from Thailand. We provide highly skilled, energetic and experienced English, Thai, and other language speaking guides. Beside ground tours, we offer all kinds of incentive and custom tours in both Thailand and Myanmar.

Our experienced and dedicated team has extensive knowledge, and offer real value and flexibility, as well as genuine advice and first-hand experience As you browse through our pages, we sincerely hope that you will find out more about us and please feel free to contact us, as we are here to create a memorable program for you and your clients.

We are looking forward to providing you a great experience!

 sunitjo travel

ที่ตั้ง

ตะนาวศรีอยู่ด้านใต้ของประเทศพม่าหรือเมียนม่าร์มีพื้นที่ทั้งหมด 43,328 ตารางกิโลเมตร (16,729 ตารางไมล์) ทิศเหนือติดต่อรัฐมอญ ทิศตะวันออกติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง ส่วนด้านทิศใต้และตะวันตกติดต่อกับทะเลอันดามัน
ลักษณะภูมิอากาศ
เขตตะนาวศรีมีภูมิอากาศแบบมรสุมร้อนคล้ายกับภูมิอากาศทางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยจะมีอุณหภูมิสูงตลอดปี ฤดูแล้งจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน และฝนตกชุกในช่วงฤดูมรสุมเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากเทือกเขาตะนาวศรีทำให้มีปริมาณน้ำฝนถึง 120 – 200 นิ้วต่อปีหรือ 1,300 มิลลิเมตรต่อเดือน จนได้ชื่อว่าฝนตกมากเป็นที่สามของโลก
ประวัติศาสตร์
เนื่องจากทวาย มะริด และตะนาวศรีถือเป็นเมืองท่าสำคัญบนทะเลอันดามันตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 และเป็นเมืองหน้าด่านของการศึกสงครามระหว่างไทยกับพม่านับแต่โบราณกาล ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาทั้งไทยและพม่าได้ผลัดกันเข้าครอบครองดินแดนแห่งนี้เรื่อยมา ตะนาวศรีปรากฏตัวและมีฐานะเป็นรัฐอิสระก่อนการเกิดอาณาจักรพะโค เมาะตะมะ อังวะ สุโขทัยและอยุธยาและเมืองเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากมาตั้งแต่ยุคสุโขทัยเนื่องจากเป็นเมืองที่พ่อค้าต่างประเทศทางอินเดียและยุโรปนำสินค้าจากทางเรือขึ้นมาขายในเมืองไทย สินค้าหายากที่ถูกนำมาสู่สยามได้แก่ พรมเปอร์เซีย ม้าพันธุ์เปอร์เซีย หรือม้าเทศและม้าพันธ์อาหรับ เป็นต้น จนมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองที่มีความรู้ความสามารถให้ปกครองดูแล ในปีพ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาแห่งราชวงค์คองบองได้ยกทัพมาตีเมืองทวายซึ่งขณะนั้นแข็งเมืองอยู่ และได้ยกพลตามมาตีเมืองมะริดและตะนาวศรี หลังจากนั้นในปีพ.ศ. 2330 พระบาทสมเด็กพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินท์ได้ยกทัพไปตีเมืองทวายคืนจากพม่าแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาอังกฤษก็เข้ามายืดครองดินแดนแถบนี้และตกเป็นของพม่าที่อยู่ในบังคับของอังกฤษอย่างเป็นทางการนับแต่วันที่ 3 กรกฏาคม 2411 เป็นต้นมา

ประชากร

ประชากรของเขตตะนาวศรีมี 1.2 ล้านคน และมีหลากหลายชาติพันธ์ เช่น ชาวมอญ ชาวกะเหรี่ยง และชาวซาโลนหรือชาวมอแกนแต่ก็มีชาวไทยสยามอาศัยอยู่ทางใต้ของเขตตะนาวศรีด้วย ช่วงก่อนปีพ.ศ. 2394 มีกลุ่มชาวไทยเชื้อสายลาวอพยพออกจากแดนไทยแถบจังหวัดราชบุรีหนืไปเมืองทวาย เมาะลำเลิง มะริด และตะนาวศรี หลังการเสียดินแดนในเขตตะนาวศรี ชาวไทยสยามที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้จึงกลายเป็นประชาชนชาวพม่าและต่อมาก็พบชุมชนชาวไทยแถวเกาะสองและลุ่มน้ำตะนาวศรี นอกจานั้นยังมีชาวจีนฮกเกี้ยน ไทใหญ่และชาวว้าอาศัยอยู่ในเขตนี้เช่นเดียวกัน
ศาสนาและความเชื่อ
ประชากรส่วนใหญ่ของเขตตะนาวศรีนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเช่นเดียวกับคนพม่าทั่วไปส่วนชาวพม่าเชื้อสายมลายูนับถือศาสนาอิสลามและพบว่าชาวกะเหรี่ยงหลายคนนับถือศาสนาคริสต์อันเนื่องมาจากการเผยแผ่ของมิชชันนารีในยุคอาณานิคม ส่วนชาวซาโลนหรือชาวมอร์แกนยังคงเป็นพวกนับถือผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นอกจานั้นชาวตะนาวศรียังมีความเชื่อเรื่องผีหรือนัต (Nat) เหมือนชาวพม่าทั่วไปด้วยเช่นกัน ชาวพม่าเชื่อว่านัตมีทั้งหมด 39 ตน
ภาษา

ในอดีตนั้นประชากรในเขตนี้ใช้ภาษาไทย ภาษามอญ ภาษากะเหรี่ยง และภาษามลายู ว่ากันว่าช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นั้นประชากรส่วนใหญ่ในเขตตะนาวศรีพูดภาษาสยาม แม้นในปัจจุบันนี้ยังมีคำไทยโบราณพบเจออยู่ในภาษาพูดของชาวทวาย เช่นคำว่า ‘คลอง’ ชาวทวายพูดว่า ‘คล่อง’ และคำว่า ‘อ่าง’ ชาวทวายเรียกว่า ‘อ่า’ ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ของเขตตะนาวศรีใช้ภาษาพม่าในการสื่อสารระหว่างกลุ่ม และเป็นภาษาราชการ แต่ภาษาพม่าที่พูดกันนั้นก็มีสำเนียงท้องถิ่นที่ไม่เหมือนชาวย่างกุ้งพูดแต่อย่างใด
เทศกาล

เทศกาลส่วนใหญ่ที่เฉลิมฉลองกันในเขตตะนาวศรีก็คล้ายกับเทศกาลของคนไทย เช่น เทศกาลเดือน 5 หรือ ‘สงกรานต์’ ซึ่งชาวพม่าเรียกว่าเทศกาล ‘ธิงยัน’ (Thingyan) ซึ่งตรงกับวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปีซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเทศกาลสงกรานต์ในเมืองไทย มีการสรงน้ำพระ เล่นสาดน้ำ และรดน้ำอบให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ นอกจากนั้นก็มีเทศกาลออกพรรษาหรือเรียกว่า ‘ตะตินจุ๊ด’ (Thadingyut) ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ตามปฏิทินจันทรคติ ซึ่งที่ทวาย มะริด และปะลอ (Palaw) จะมีการแห่พระพุทธรูป 28 องค์ไปรอบเมืองด้วย สำหรับชาวซาโลนหรือชาวมอร์แกนซึ่งอาศัยอยู่ตามหมู่เกาะมะริดซึ่งประกอบด้วยเกาะเล็กๆ ถึง 800 เกาะจะมีเทศกาลของตัวเองในเดือนกุมภาพันธ์ที่เกาะลัมปีหรือลาปี (Lapi) ซึ่งแปลว่า Full Moon ซึ่งจะมีการร้องรำทำเพลงและแข่งเรือ












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น